top of page

Buddhology

Cessation of opinions, body and feelings

Submitted by administrator on Wed, 01/22/2014 - 16:58

 

Reference: 

Middle Lengths Saying 2 III. THE DIVISION ON WANDERERS (PARIBBAJAKAVAGGA) DIGHANAKHA SUTTA (Discourse to Dighanakha) (ทีฆนขสูตร)

 

Aggivessana, of this view, if a learned man be there who reflects thus: If I were to express this view of mine:

"

All is pleasing to me." and obstinately holding to it and adhering to it, were to say:  "This is indeed the truth, all else is falsehood." -  there would be for me dispute with two (view-holders): both with whatever recluse or brahman speaks thus and is of this view: ''All is not pleasing to me." and with whatever recluse or brahman speaks thus and is of this view: "Part is pleasing to me, part is not pleasing to me " - there would be dispute for me with these two.  If there is dispute there is contention; if there is contention there is trouble; if there is trouble there is vexation.  So he, beholding this dispute and contention and trouble and vexation for himself, gets rid of that very view and does not take up another view.  Thus is the getting rid of these views, thus is the casting out of these views.

 

But this body, Aggivessana, which has material shape, is made up of the four great elements, originating from mother and father, nourished on gruel and sour milk, of a nature to be constantly rubbed away, pounded away, broken up and scattered, should be regarded as impermanent, suffering, as a disease, an imposthume, a dart, a misfortune, an affliction, as other, as decay, empty, not-self.  When he regards this body as impermanent, suffering, as a disease, an imposthume, a dart, a misfortune, an affliction, as other, as decay, empty, not-self, whatever in regard to body is desire for body, affection for body, subordination to body, this is got rid of.

There are these three feelings, Aggivessana: pleasant feeling, painful feeling, feeling that is neither painful nor pleasant.  

 

Pleasant feelings, Aggivessana, are impermanent, compounded, generated by conditions, liable to destruction, liable to decay, liable to fading away, liable to stopping.  And painful feelings are impermanent, compounded, generated by conditions, liable to destruction, liable to decay, liable to fading away, liable to stopping.  And, Aggivessana, feelings that are neither painful nor pleasant are impermanent, compounded, generated by conditions, liable to destruction, liable to decay, liable to fading away, liable to stopping. 

 

Seeing it thus, Aggivessana, an instructed disciple of the ariyans turns away from pleasant feelings and he turns away from painful feelings and he turns away from feelings that are neither painful nor pleasant; turning away he is dispassionate, being dispassionate he is freed, in freedom the knowledge comes to be that he is freed and he comprehends: 'Destroyed is birth, brought to a close is the Brahma-faring, done is what was to be done, there is no more of being such or so.' 

 

A monk whose mind is freed thus, Aggivessana, does not concur with anyone, he does not dispute with anyone.  He makes use of the common phrases of the world without adhering to them.''

 

ดับทิฏฐิ กาย เวทนา

 

อัคคิเวสสนะ  บรรดาความเห็นนั้น  วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า  เราจะยึดมั่น  ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง  สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑  สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้  มักเห็นอย่างนี้ว่า  บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑ เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี  เมื่อมีความแก่งแย่งกัน  ความเบียดเบียนกันก็มี  วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน  ความทุ่มเถียงกัน  ความแก่งแย่งกัน  และความเบียดเบียนกันในตนดังนี้อยู่  จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฎฐิอื่นด้วย การละการสละคืนทิฎฐิเหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้

 

อัคคิเวสสนะ  ก็กายนี้มีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้งสี่  มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด  เจริญด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องอบและขัดสีกันเป็นนิจ มีความแตกกระจัดกระจาย เป็นธรรมดา  ท่านควรพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์  เป็นโรค  เป็นดังหัวฝี  เป็นดังลูกศร  เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้  เป็นดังผู้อื่น  เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า  เป็นของมิใช่ตน เมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้  โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์  เป็นโรค  เป็นดังหัวฝี  เป็นดังลูกศร  เป็นความลำบาก  เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม  เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตนอยู่  ท่านย่อมละความพอใจในกาย  ความเยื่อใยในกาย  ความอยู่ในอำนาจของกายในกายได้

 

อัคคิเวสสนะ  เวทนาสามอย่างนี้ คือ  สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑  อทุกขมสุขเวทนา ๑

 

อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง  อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น  อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น  มีความสิ้นไป  เสื่อมไป  คลายไป  ดับไปเป็นธรรมดา  แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง  อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น  อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น  มีความสิ้นไป  เสื่อมไป  คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา  แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง  อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น  อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น  มีความสิ้นไป  เสื่อมไป  คลายไป  ดับไปเป็นธรรมดา

 

อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น  เมื่อหลุดพ้นแล้ว  ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว  รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี  

 

อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น  แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฎฐิ

Read other translation of DIGHANAKHA SUTTA :
http://www.accesstoinsight.org
http://buddhasutra.com

http://www.metta.lk

 

 

 

Note: 

We are grateful to the Pali Text Soceity for granting Uttayarndham the permission to use extracts from its English publications of the Tipitaka. The English version is a translation from Pali. Copyright remains with the Pali Text Soceity.

 

 

Download: 

ดับทิฎฐิ กาย เวทนา Dikhanaga Sutta

 

bottom of page